10 Jan 2012
Review

พลาสมาได้ใจ ให้เลย !!! รีวิว Samsung PS51E8000 3D Plasma TV [2012]


  • ชานม
รีโมตคอนโทรลพื้นฐาน ที่คุ้นเคยกันดี
รีโมตเสริม ที่ส่งสัญญาณด้วยเทคโนโลยี Bluetooth

ความอเนกประสงค์ของรีโมตอันนี้ ที่พิเศษนอกเหนือจากฟังก์ชั่นแบบรีโมตปกติ คือ การที่มันติดตั้งไมโครโฟนเพื่อรองรับใช้งานอีกหนึ่งฟีเจอร์เด่นของ Smart Interaction หรือ “การสั่งงานด้วยเสียง” นั่นเอง (จะกล่าวถึงต่อไป) เรียกว่าแม้นั่งห่างทีวี ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะอยู่ไกลไมโครโฟน นอกจากนี้ยังรองรับระบบสัมผัส สำหรับใช้งานเพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ได้ด้วย

หมายเหตุ:ในรุ่น LED TV ES8000 นั้น ตัวรับสัญญาณรีโมต Bluetooth จะฝังมากับตัวทีวีเลย ในขณะที่ Plasma TV E8000 แยกตัวรับสัญญาณออกมาดังที่เห็นในรูป (ซึ่งตัวเซ็นเซอร์นี้ต้องใส่แบ็ตเตอรี่ต่างหากด้วย) ทั้งนี้เวลาใช้งานจะต้องทำการ pairing ตัวรับสัญญาณกับทีวีก่อน จึงจะใช้งานรีโมตบลูทูชได้

แว่นสามมิติ ตอนมาจะแยกส่วนขากับตัวแว่นออกจากกันดังรูปครับ ต้องประกอบเข้าด้วยกันก่อน ส่วนตำแหน่งใส่แบ็ตฯ อยู่ด้านหลังตรงหว่างคิ้ว นี่คงเป็นตำแหน่งมาตรฐานไปแล้วสำหรับแว่น Active 3D ยุคนี้ เช่นเดียวกับรูปแบบการเปลี่ยนแบ็ตฯ เมื่อหมด (ไม่ใช้วิธีชาร์จ)
ประกอบเสร็จออกมา หน้าตาเป็นแบบนี้ เห็นรูปทรงก็คงจะคุ้นเคย เพราะมันเป็นรูปแบบเดียวกับของ LED TV นั่นแหละ น้ำหนักถือว่าเบามาก ใส่สบายเหมือนไม่ได้ใส่อะไรป่าว ฮา อ้อ จำนวนแว่นที่ให้มา คือ 4 ชุด ครับ

ช่องต่อ

ช่องต่อของ Samsung PS-51E8000 ดูเผินๆ อาจมิได้มากมาย แต่น่าจะเพียงพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน แม้จำนวนอาจมิใช่จุดที่ Samsung ต้องการเน้นในรุ่นนี้ ทว่าหากพิจารณาในเรื่องของศักยภาพเสริมที่ยืดหยุ่น ยกตัวอย่างเช่น HDMI In จำนวน 3 ช่อง นั้น นอกจาก HDMI In 2 ที่รองรับฟังก์ชั่น ARC (Audio Return Channel) อันคุ้นเคยแล้ว ในส่วน HDMI In 3 ยังรองรับ MHL (Mobile High-Definition Link) หรือมาตรฐานการเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงความละเอียดสูง ร่วมกับ Smart Devices ซึ่ง Smart Devices หลายๆ รุ่นในนั้น คือ ตระกูล Galaxy ของ Samsung นั่นเอง ซึ่งในขณะเชื่อมต่อสามารถชาร์จแบ็ตฯ ให้กับอุปกรณ์ดังกล่าวไปพร้อมกันด้วย ส่วน Wi-Fi Built-In ให้ความยืดหยุ่นสำหรับการใช้งานฟังก์ชั่น Smart TV ได้เป็นอย่างดี ทว่าไม่ทิ้งรูปแบบการเชื่อมต่อผ่านสาย LAN เดิมๆ ไป

หมายเหตุ:

– การใช้งานฟังก์ชั่น ARC สำหรับ Samsung TV ต้องเปิดฟังก์ชั่น Anynet+ ไว้ด้วย (ที่ Setup Menu >> System >> Anynet+ (HDMI-CEC) และทึ่ชุดเครื่องเสียง-โฮมเธียเตอร์ ต้องรองรับฟังก์ชั่น ARC เช่นกัน จึงจะใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้

– MHL เป็นคุณสมบัติที่มีเฉพาะกับอุปกรณ์ Smart Devices บางรุ่น โปรดตรวจสอบข้อมูลจากผู้ผลิตอุปกรณ์ Smart Devices นั้นๆ

  • HDMI™ In    3 (ด้านข้าง)
  • USB 2.0          3 (ด้านข้าง)
  • การเชื่อมต่อ Ethernet        1 (ด้านล่าง) พร้อม Wi-Fi Built-In
  • ช่องต่อเข้าวีดีโอ Composite 1 (ด้านล่าง Hybrid ร่วมกับ Component)
  • ช่องต่อเข้าวีดีโอ Component        1 (ด้านล่าง Hybrid ร่วมกับ Composite)
  • ช่องต่อเข้า RF (Antenna)    1 (ด้านล่าง)
  • ช่องต่อเข้า PC HD15  –
  • ช่องต่อเข้าเสียงแบบอะนาล็อก 1 (ร่วมกับ Composite และ Component)
  • ช่องต่อออกเสียงแบบดิจิทัล      1 (Optical ด้านข้าง)
  • ช่องต่อออกเสียงแบบอะนาล็อก /
  • ช่องต่อหูฟัง      –
หากเทียบกับรุ่นของปีที่แล้วจะพบว่า ได้ลดจำนวน HDMI In ลงไป 1 ช่อง (เหลือเพียง 3 ช่อง) แล้วเพิ่ม USB In มา 1 ช่อง (เป็น 3 ช่อง) แต่ถึงแม้จำนวน HDMI Input จะลดลง แต่ทุกช่องนั้น มาแบบ “เน้นคุณสมบัติ” ! ดังที่กล่าวไปข้างต้น
Component/Composite ในรุ่นใหม่ ไม่ต้องใช้อแดปเตอร์ mini jack อีกต่อไป สามารถต่อสายสัญญาณตรงเข้ากับทีวีได้เลย ซึ่งช่องต่อ Component/Composite นี้ มีให้ชุดเดียวเช่นเคย คือ เป็นแบบ Hybrid (เวลาใช้งาน ต้องเลือกว่าจะใช้ Component หรือ Composite อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแบบเดียว)

นอกจากนี้รุ่นใหม่ได้ตัด PC In (D-sub) ออกไปด้วย หากจะเชื่อมต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ ต้องต่อทาง HDMI/DVI เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงก็สมควรใช้ HDMI/DVI (ที่เป็นรูปแบบดิจิทัล) มากกว่า เพราะให้คุณภาพของภาพที่ดีกว่า D-sub

ช่องต่ออีกจุด ที่เดิมเคยมีในรุ่นก่อน แต่ถูกตัดไปในรุ่นนี้ คือ Analog Audio Out/Headphone Out หรือช่องต่อเสียงออกแบบอะนาล็อก (ใช้งานร่วมกับช่องหูฟัง) หากจะทำการเชื่อมต่อกับชุดเครื่องเสียงภายนอก คงต้องแนะนำให้ใช้ HDMI (ARC) หรือ Optical แทน ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อรูปแบบ “ดิจิทัล” อันเป็นรูปแบบที่เหมาะกับยุคสมัยมากกว่า กระนั้นใครจะต่อลำโพงภายนอก ตรวจสอบดูด้วยว่าชุดเครื่องเสียง-โฮมเธียเตอร์ มีช่องต่อที่กล่าวมาข้างต้นนี้หรือไม่
 

หมายเหตุุ:กรณีเชื่อมต่อสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ทาง DVI to HDMI แล้วต้องการให้มีเสียงออกที่ทีวีด้วย ให้ใช้ช่อง HDMI In 1 เพราะรองรับการเชื่อมต่อร่วมกับสัญญาณเสียงเข้าแบบอะนาล็อก โดยเชื่อมต่อสัญญาณเสียงผ่านช่อง DVI Audio In ที่เป็นรูปแบบ 3.5mm mini jack

USB 2 ใน 3 ช่อง (อีกช่อง ไม่ได้แสดงในรูป ทว่าอยู่เยื้องลงไปด้านล่าง ใกล้กับ HDMI In 1) ซึ่งขนาบ Optical Digital Audio Out อยู่

เพิ่มเติม

ฟังก์ชั่น Picture in Picture (PIP) ที่มีในรุ่นนี้ สามารถซ้อนภาพจากอินพุต TV หรือ AV บน HDMI ได้